เมนู

เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ 9


1. สมิติคุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสมิติคุตตเถระ


[218] ได้ยินว่า พระสมิติคุตตเถระไค้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บาปกรรมใดที่เราได้กระทำไว้แล้ว ในชาติอื่น ๆ
ในกาลก่อน เราจึงได้เสวยผลของบาปกรรมนั้น ใน
อัตภาพนี้เอง เรื่องบาปกรรมอื่นจักไม่มีอีกต่อไป.

วรรควรรณนาที่ 9


อรรถกถาสมิติคุตตเถรคาถา


คาถาของท่านพระสมิติคุตตเถระ เริ่มต้นว่า ยํ มยา ปกตํ ปาปํ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เป็นอันมาก บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว พบ
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกมะลิ.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจะเกิดในภพใด ๆ ก็ได้ตั้งอยู่ในฐานะ ที่มี
กุลสมบัติ รูปสมบัติ และบริวารสมบัติ เหนือสัตว์เหล่าอื่นในภพนั้น ๆ. ก็

ในอัตภาพหนึ่ง เขาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เที่ยวบิณฑบาตอยู่ คิดว่า
สมณะโล้นรูปนี้ ชะรอยจะเป็นโรคเรื้อน ด้วยเหตุนั้น สมณะรูปนี้จึงต้องเอา
ผ้าคลุมตัวเที่ยวไป ดังนี้แล้ว ถ่มน้ำลายรด หลีกไปแล้ว.
ด้วยกรรมนั้น เขาหมกไหม้อยู่ในนรก ตลอดกาลเป็นอันมาก แล้ว
บังเกิดในมนุษยโลก ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสป
เขาบวชเป็นปริพาชก เห็นอุบาสกผู้สมบูรณ์ด้วยสีลาจารวัตรคนหนึ่ง แล้ว
ขุ่นเคือง ได้ด่าว่า เจ้าคงเป็นโรคเรื้อน ดังนี้ และทำลายจุณสำหรับอาบน้ำ
ที่มนุษย์ทั้งหลายวางไว้ที่ท่าน้ำ.
ด้วยกรรมนั้น เขาบังเกิดในนรกอีก เสวยทุกข์สิ้นปีเป็นอันมาก
แล้วเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ ได้มีนามว่า สมิติคุตตะ. เขาเจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของ
พระบรมศาสดา ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้วเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์หมดจดดี
อยู่ด้วยผลแห่งกรรมเก่าของท่าน โรคเรื้อนเกิดขึ้นแล้ว. ด้วยโรคเรื้อนนั้น
ทำให้อวัยวะร่างกายของท่านแตกเป็นริ้วรอยโดยทั่วไปแล้ว มีน้ำเหลืองไหล
ออก. ท่านพักอยู่ในศาลาสำหรับภิกษุอาพาธ.
ครั้นวันหนึ่ง พระธรรมเสนาบดีไปเยี่ยมไข้ สอบถามภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นไข้ในที่นั้น ๆ เห็นภิกษุนั้นแล้ว บอกกรรมฐานที่มีเวทนานุปัสสนาเป็น
อารมณ์ว่า ดูก่อนอาวุโส ตราบใดขันธ์ยังเป็นไปอยู่ ก็ต้องเสวยทุกข์ทั้งปวง
อยู่ตราบนั้น แต่เมื่อขันธ์ทั้งหลายไม่มีอยู่นั่นแหละ ทุกข์จึงหมดไปดังนี้แล้ว
ได้หลีกไปแล้ว. ท่านตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระแล้ว เจริญวิปัสสนา ได้
กระทำให้แจ้งอภิญญา 6 แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์ ประสูติจากพระครรภ์
แสงสว่างได้มีอย่างไพบูลย์ และพื้นปฐพี พร้อมทั้ง

สมุทรสาคร และภูเขาก็หวั่นไหว อนึ่ง พวกโหราจารย์
ก็พยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าจักอุบัติในโลก เป็นผู้เลิศ
กว่าสรรพสัตว์ จักรื้อถอนหมู่ชน เราได้ฟังคำของ
พวกโหราจารย์แล้ว ได้ทำการบูชาพระชาติ ด้วยดำริว่า
การบูชาพระชาติเช่นนี้ไม่มี เรารวบรวมกุศลแล้ว ได้
ยังจิตของตนให้เลื่อมใส ครั้นเราทำการบูชาพระชาติ-
แล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ
ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ เราย่อม
ล่วงสรรพสัตว์ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระชาติ พี่เลี้ยง
นางนม ย่อมบำรุงเรา เป็นไปตามอำนาจจิตของเรา
เขาไม่อาจยังเราให้โกรธเคือง นี้เป็นผลแห่งการบูชา
พระชาติ ในกัปที่ 91 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำการบูชาใด
ในกาลนั้น ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการบูชาพระชาติ ในกัปที่เหมาะสมถอยหลัง
แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 34 พระองค์
เป็นจอมคน มีพระนานว่า " สุปาริจริยา " มีพลมาก.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นเป็นผู้มีอภิญญา 6 แล้ว ระลึกถึงบาปกรรมอันตน
กระทำแล้วในชาติก่อน ๆ ด้วยสามารถแห่งโรคที่ตนกำลังเสวยอยู่ในปัจจุบัน
โดยมุขคือการพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะประกาศความที่กิเลสนั้น
อันตนละได้แล้ว โดยประการทั้งปวง ได้กล่าวคาถาว่า

บาปกรรมใดที่เรากระทำไว้แล้ว ในชาติอื่น ๆ
ในกาลก่อน เราจึงได้เสวยผลของบาปกรรมนั้น ใน
อัตภาพนี้เอง เรื่องบาปกรรมอื่น จะไม่มีอีก
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปํ ได้แก่ อกุศลกรรม. ก็อกุศลกรรม
นั้นท่านเรียกว่า บาป เพราะอรรถว่า ลามก. บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า ใน
กาลก่อน. บทว่า อญฺญาสุ ชาติสุ ความว่า ในชาติเหล่าอื่น จากชาตินี้
ได้แก่ ในอัตภาพอื่น. ก็ในคาถานี้ มีใจความ ดังนี้ว่า
แม้ถ้าว่า บาปกรรมเช่นนั้น อันเรากระทำไว้แล้วในอัตภาพนี้ ไม่มี
ไซร้ บาปกรรมนั้นย่อมเกิดไม่ได้เลย ในบัดนี้ ส่วนบาปกรรมใด ที่เราทำไว้
ในชาติอื่น แต่ชาตินี้ยังมีอยู่ บาปกรรมนั้น เรากำลังเสวยอยู่ในอัตภาพนี้แหละ
อธิบายว่า กรรมนั้น คือผล ที่เรากำลังเสวย คือประสบอยู่ ในชาตินี้แหละ
คือในอัตภาพนี้เอง. เพราะเหตุไร ? เพราะเรื่องบาปกรรมอื่นจะไม่มี (อีกต่อ-
ไป). เพราะฉะนั้น โอกาสที่จะเสวยกรรมนั้น คือความเกี่ยวพันธ์ของขันธ์อื่น
จึงไม่มี ก็ขันธ์เหล่านี้หาปฏิสนธิมิได้ ย่อมดับไป ด้วยการดับแห่งจริมกจิต
เพราะละอุปทานได้แล้ว โดยประการทั้งปวง เหมือนเปลวไฟ ไม่มีเชื้อดับไป
ฉะนั้น. พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลแล้ว ด้วยประการดังพรรณนามานี้.
จบอรรถกถาสมิติคุตตเถรคาถา

2. กัสสปเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกัสสปเถระ


[219] ได้ยินว่า พระกัสสปเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ทางทิศาภาคใด ๆ มีภิกษาหาได้ง่าย มีความ
เกษม และไม่มีภัย เจ้าจงไปทางทิศาภาคนั้น ๆ เถิด
ลูก ขออย่าให้เจ้า ประสบความเศร้าโศกเสียใจเลย.

อรรถกถากัสสปเถรคาถา


คาถาของท่านพระกัสสปเถระ เริ่มต้นว่า เยน เยน สุภิกฺขานิ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เรียนจบไตรเพท และสำเร็จการ
ศึกษาในศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ วันหนึ่ง เขาเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
มีใจเลื่อมใส ทำการบูชาด้วยดอกมะลิ. และเมื่อทำการบูชา ก็โยนกำดอกไม้
ขึ้นไปบน (อากาศ) รอบ ๆ พระศาสดา. ด้วยพุทธานุภาพ ดอกไม้ทั้งหลาย
ได้ประดิษฐานเป็น (อาสนะ) ของพระศาสดาโดยอาการแห่งอาสนะดอกไม้.
เขาเห็นเหตุอัศจรรย์นั้นแล้ว ได้มีใจเลื่อมใสเป็นล้นพ้น. เขากระทำบุญไว้มาก
ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่แต่ในสุคติภพอย่างเดียว ตลอดแสนกัป เป็นบุตร
ของอุทิจจพราหมณ์ คนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้